วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถอดบทเรียนการใช้ “ไอซีที” เทคโนโลยีแค่ “เครื่องมือ” มากกว่า “แท็บเลต” คือ “ครู”//ประชาชาติธุรกิจ

มื่อรัฐบาลประกาศนโยบายชัดว่าปีการศึกษาใหม่นี้จะแจกแท็บเลตให้เด็ก ป.1 ในโรงเรียนนำร่องเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สังคมไทยควรเตรียมการอย่างไรให้เด็กไทยเท่าทันเทคโนโลยี จึงเป็นคำถามน่าคิดที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายควรมีคำตอบ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า วัยของเด็กนักเรียนชั้น ป.1 เป็นช่วงที่ต้องฝึกพื้นฐาน การใช้มือ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา ทั้งเด็กและผู้ปกครองบางกลุ่มอยากได้ แท็บเลต เพราะคิดว่าจะช่วยสร้างพัฒนาการทำให้เด็กเรียนรู้ดีขึ้น แต่อีกกลุ่มไม่อยากได้เพราะคิดว่าแค่นี้เด็กก็หมกมุ่นกับอุปกรณ์เหล่านี้มากเกินไปแล้ว สิ่งที่ สพฐ.ต้องทำคือพัฒนาคอนเทนต์ในแท็บเลตว่าจะใส่อะไรเข้าไปให้เด็กซึมซับได้ อาทิ การสร้างเนื้อหาแบบอินเตอร์แอ็กทีฟให้ดูได้ทั้งที่โรงเรียนและเรียนร่วมกันกับที่บ้าน ร่วมถึงสร้างสำนึกด้านคุณธรรมเป็นตัวตั้งในการดีไซน์คอนเทนต์ที่เด็กจะได้เรียนรู้ในช่วงวัยนี้ และเตรียมความพร้อมบุคลากรสำหรับเครื่องมือใหม่ ๆ เราเคยมีประสบการณ์จากช่วง แรก ๆ ที่เริ่มมีนโยบายอยากให้ใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน เรายกคอมพิวเตอร์ไปให้แต่ละโรงเรียน แต่เมื่อไปดูว่าเด็กใช้อะไรบ้างสิ่งที่เด็กบอกคือ ใช้หาความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจริง ๆ แล้วทำไมไม่เปิดหนังสือแทนที่จะเสียบปลั๊กใช้พลังงานมากมายเพื่อหานิยามแค่นั้น เราต้องการให้ใช้ค้นคว้าในสิ่งที่มากกว่านั้น ทำให้ได้บทเรียนว่าจำเป็นต้องพัฒนาครูให้พร้อมใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ให้มาก ให้ครูใช้แท็บเลตอย่างมีคุณภาพ ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะมาต้องเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนนั่นคือ สอนให้มีนิสัยใช้ข้อมูลในการเรียนรู้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นไม่ใช่แค่เล่นเกม ที่สำคัญคือต้องสร้างความตระหนักถึงผลกระทบและแนวทางการใช้งานอย่างเหมาะสมให้ทั้งเด็ก ครู และผู้ปกครอง ยุคนี้ไม่สามารถปิดกั้นอะไรได้เลย ฉะนั้นโรงเรียนต้องสร้างภูมิคุ้มกันทางสติปัญญา อารมณ์ ผ่านการสร้างกระบวนการตัดสินใจรับสื่อของเด็กให้เพียงพอ เพราะเด็กคือคนที่ตัดสินใจคลิกรับสื่อ สำหรับการบริหารจัดการ แท็บเลต ของแต่ละโรงเรียนยังมีแนวทางที่หลากหลาย  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม

บทความที่ได้รับความนิยม