วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

“CSOC” กับภารกิจล่าเว็บผิดกฏหมาย //เดลินิวส์

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยมีจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 17.5 ล้านคน  ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ตัวเลขเติบโตอย่างต่อเนื่อง มาจากการที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตขยายโครงข่ายครอบคลุมในหลายพื้นที่ ประกอบกับราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง นอกจากนี้การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเปิดตัวบริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3 จี บนคลื่นความถี่เดิม ยิ่งทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้น เกือบทุกที่ และทุกเวลา  เพียงมีโทรศัพท์มือถือที่รองรับ ก็สามารถท่องเน็ตได้เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก อย่างไรก็ตามการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย เสมือนเป็นดาบสองคม หากใช้ในทางที่ดีก็จะเป็นประโยชน์มากมายมหาศาล แต่หากใช้ไปในทางที่ผิด ก็จะส่งผลเสียต่อผู้ใช้งาน จนลุกลามกลายเป็นปัญหาต่อประเทศ ทั้งในด้านสังคมไปจนถึงปัญหาความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีเว็บไซต์ผิดกฎหมายและมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันฯ เว็บไซต์การพนัน หลอกลวง และเว็บไซต์ลามกอนาจาร การเฝ้าระวังภัยคุกคามจากเว็บไซต์ผิดกฎหมายเหล่านี้จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นและต้องดำเนินการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบหนีไม่พ้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่ต้องบังคับการใช้กฎหมาย ไอซีที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ให้เกิดผลสูงสุด กระทรวงไอซีทีได้จัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยทางอินเทอร์ เน็ต (World wide web Security Operation Center :  ISOC ) หรือไอซ็อก  ตั้งแต่ปี 2552 ในสมัย ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที   เพื่อติดตามเฝ้าระวังเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม

บทความที่ได้รับความนิยม